ตะไบหางหนู เป็นเครื่องมือช่างพื้นฐานที่เหมาะสำหรับการขัดแต่งผิวที่ดี

ตะไบหางหนู

ตะไบ (Files) เป็นเครื่องมือช่างพื้นฐานที่เหมาะสำหรับการขัดแต่งผิว หรือการปาดหน้าชิ้นงาน การตัด การเฉือนผิวชิ้นงานในลักษณะการถาก การขูด เพื่อลดขนาดของชิ้นงาน ลบเหลี่ยมมุม คมต่างๆ หรือเพื่อปรับแต่ง ชิ้นงานตามต้องการ ทำมาจากเหล็กกล้าผสมคาร์บอน โดยผิวของตะไบจะเป็นลักษณะคมมีด เป็นส่วนที่ใช้ในการขัดตกแต่ง หรือปรับผิวชิ้นงานที่มีผิวขรุขระให้มีความเรียบ มีด้ามจับที่เป็นไม้หรือพลาสติก เพื่อเพิ่มความถนัดในการจับในการใช้งาน ส่วนมากจะเป็นทรงกลมเพื่อความสะดวกในการจับที่มากยิ่งขึ้น

ประเภทของตะไบ 

  1. ตะไบแบน (Flat File) มีลักษณะหน้าตะไบเป็นรูปสี่แหลี่ยมพื้นผ้า ฟันตะไบเป็นแบบลายตัดคู่ นิยมใช้กับงานทั่วๆ ไป
  2. ตะไบกลม (Round File) หรือตะไบหางหนู (Rat Tail File) ฟันของตะไบมีทั้งแบบลายตัดเดี่ยวและลายตัดคู่ นิยมใช้ในงานตะไบส่วนโค้งของชิ้นงาน ใช้ตะไบขยายขนานรูกลม และใช้ตะไบร่องโค้ง
  3. ตะไบสี่เหลี่ยม (Square File) ฟันตะไบเป็นแบบลายตัดคู่ นิยมใช้กับชิ้นงานที่เป็นมุมต่างๆ ใช้ในการตะไบขยายขนาดร่อง หรือรูชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม เพื่อให้ได้มุมฉากของผิวชิ้นงาน
  4. ตะไบท้องปลิง (Half Round File) ฟันตะไบเป็นแบบลายตัดคู่ มีลักษณะรูปทรงตะไบจะเป็นครึ่งวงกลม นำใช้งานผิวงานที่เป็นโค้ง
  5. ตะไบสามเหลี่ยม (Three Square File) ฟันตะไบเป็นแบบลายตัดคู่ นิยมใช้ในงานตะไบมุมของชิ้นงาน เช่นเดียวกับตะไบสี่เหลี่ยม แต่จะใช้ในงานที่มีมุมน้อยกว่า 90 องศา
  6. ตะไบปลายมีด (Knife File) ฟันตะไบเป็นแบบลายตัดคู่ เหมาะสำหรับใช้ในงานตะไบร่องงานที่มีขนาดแคบๆ ลักษณะตะไบจะคล้ายกับปลายมีด
  7. ตะไบปลายงอ (Liffler’s File) ตะไบชนิดนี้ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในงานทำแม่พิมพ์โลหะ (Tool and Die) และงานทำแม่พิมพ์พลาสติก (Mold) โดยเฉพาะ

การใส่ถอดด้ามตะไบ

ปลายแหลมของตะไบ  ที่เรียกว่า “ก้านตะไบ”  ต้องถูกสวมด้วยด้ามตะไบที่มีขนาดพอเหมาะ  เพื่อให้สามารถจับทำงานได้สะดวกและปลอดภัย

  1.  การเจาะรูด้ามตะไบด้ามตะไบปกติเป็นไม้ ก่อนที่จะนำไปใส่ ต้องเจาะรูด้ามตะไบเป็นขั้นๆ ไป โดยให้เส้นผ่านศูนย์กลางและความลึกของรูมีขนาดดังแสดงในรูป ทั้งนี้เนื่องจากก้านตะไบเป็นปลายเรียว
  2.  ด้ามตะไบที่ถูกต้องด้ามตะไบที่ถูกต้อง ควรยาวกว่าก้านของตะไบประมาณ 1/3 ของความยาวก้านตะไบ และเมื่อสวมเจ้ากับก้านตะไบ จะต้องอยู่ในแนวตรงกึ่งกลางพอดี โดยเว้นช่องว่างระหว่างลำตัวกับด้ามประมาณ 10 มิลลิเมตร
  3.  การใส่ด้ามตะไบใช้มือซ้ายจับลำตัวตะไบและสวมด้ามตะไบบนก้านตะไบ แล้วใช้ค้อนไม้ตอกด้ามด้วยแรงพอประมาณ จนกระทั่งด้ามตะไบสวมลึกได้ตำแหน่งที่ถูกต้อง
  4. การถอดด้ามตะไบกระทำได้โดยเปิดปากของปากกาจับงานให้ห่างออกเล็กน้อยพอที่จะสอดตะไบด้วยมือขวา  แล้วดึงกระแทกด้ามตะไบกับปากกาด้วยแรงพอประมาณ  จนกระทั่งด้ามตะไบหลุดออกมา  

ระดับของปากกาที่เหมาะสมสำหรับการตะไบ

เพื่อที่จะให้ได้การตะไบที่ดีผลงานออกมาใช้ได้     ควรใช้ระดับสูงสูดของปากกาต่ำกว่าระดับข้อศอกประมาณ 5 – 8 ซม.     ดังนั้น  ถ้าหากการยืนยังไม่ได้ระดับที่เหมาะสม    จะต้องมีการปรับระดับของปากกาให้เหมาะสมกับความสูงของผู้ปฏิบัติงานโดยการหนุนปากกาขึ้นสำหรับคนสูง และใช้ม้ารองสำหรับคน

การทำความสะอาดตะไบ

ตะไบเมื่อใช้งานไปได้ระยะเวลาหนึ่ง  เศษโลหะจะอุดตันอยู่ระหว่างช่องฟัน  โดยเฉพาะตะไบละเอียด  จำเป็นต้องทำความสะอาดบ่อยๆ  เนื่องจากตะไบที่มีเศษโลหะอุดตัน  จะทำให้ผิวงานถูกขูดเป็นรอยขนาดใหญ่ขณะตะไบ   ดังนั้น  การทำความสะอาดตะไบควรทำเป็น  3  ช่วงดังนี้  คือ  ก่อนเริ่มต้นตะไบ  ในระหว่างตะไบ และหลังจากตะไบเสร็จแล้ว

  1.   การทำความสะอาดตะไบด้วยแปรงเหล็ก เศษโลหะหรือเศษวัสดุที่อุดตันร่องฟันตะไบสามารถขจัดออกไปได้ โดยการใช้แปรงเหล็กถูในทิศทางแนวร่องลึก ดังรูปการแปรงที่ถูกวิธี คือ การดึงแปรงเหล็กเข้าหาลำตัวทางเดียว โดยวางปลายตะไบบนพื้นโต๊ะงาน และจับด้ามตะไบด้วยมือซ้าย    การถูตะไบไปมาตามความยาวของตะไบเป็นวิธีการทำความสะอาดที่ไม่ถูกต้อง
  2. การทำความสะอาดตะไบด้วยแท่งทองเหลือง ในกรณีที่เศษวัสดุติดฝังแน่นในร่องตะไบไม่สามารถขจัดออกได้ด้วยแปรงเหล็ก จำเป็นต้องใช้แท่งทองเหลืองปลายแบนแซะออกในแนวร่องคมตัด ดังรูปไม่ควรใช้เหล็กขีดแซะเศษวัสดุออก    เพราะเหล็กขีดเป็นเครื่องมือร่างแบบ อาจทำให้เหล็กขีดทื่อหรือปลายเหล็กขีดหักได้

การจัดเก็บบำรุงรักษา

  • ตรวจดูความเรียบร้อยของใบกบก่อนเก็บเข้าที่
  • ทำความสะอาดตัวกบโดยใช้แปรงปัดเศษไม้ออก
  • ชโลมน้ำมันใบกบก่อนเก็บเข้าที่เก็บ
  • ทำความสะอาดตะไบโดยใช้แปรงทองเหลืองปัดเศษโลหะออก
  • ไม่ควรวางตะไบทับกันเพราะจะทำให้คมตะไบสึกหรอได้ง่าย

เราก็จำเป็นต้องเลือกใช้ตะไบให้ถูกต้องตามคุณสมบัติเฉพาะของมัน เพื่อที่จะได้งานที่มีคุณภาพและเนื้องานที่ดี